facebook pixels แบบเข้าใจง่ายๆ ใน 3 นาที
.
บทความต่อไปนี้ เป็นการอธิบายให้เห็นถึงภาพของการทำงานของ facebook pixels
เครื่องมือที่จะช่วยทำให้การทำโฆษณาบนเฟสบุ๊ค มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่ลงลึกรายละเอียด แต่อย่างใด
.
หลายคนที่ทำโฆษณาเฟสบุ๊คมานาน
น่าจะพอรู้ว่า ตอนนี้ ค่าโฆษณา แพงขึ้น
หาลูกค้ายากขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่เคยดี
ก็เริ่มจะไม่ค่อยดีเหมือนเดิม
.
เทคนิคการทำโฆษณาจึงต้องเปลี่ยนไป
ต้องใช้เครื่องมือที่เฟสบุ๊คมีให้ใช้ มากขึ้น
.
จริงๆ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่
เพราะว่าเราแอบเห็นคำว่า pixels มานานแล้ว เวลาจะ boost post ทำโฆษณา
แต่เราละเลย และไม่ได้ใส่ใจ เพราะยิงแอดแบบปกติ
มันก็ทำงานได้ดี
.
ที่มันทำงานได้ดี เพราะสมัยก่อน คู่แข่งน้อย
คนในสนามน้อย ทำอะไร ก็ทำได้
ยิงแอดอะไร ก็ปัง
(เหมือนตอนนี้ ที่เรายิงแอดไปประเทศเพื่อนบ้าน จะได้ราคาถูก และ ได้ผลดีเหมือนที่เคยทำในบ้านเราเมื่อ 4-5 ปีก่อน)
.
แต่ตอนนี้ คนรู้เยอะ สนามแข่งขันนี้ จึงดุเดือด
เพราะคู่แข่ง ไม่ใช่คนขายของเหมือนกัน
แต่เป็นบริษัทใหญ่ๆ ที่ยอมทุ่มเงินมาในเฟสบุ๊ค หลักร้อยล้าน
.
ดังนั้น การยิงแอด การทำโฆษณา จึงต้องใช้ความคิดมากกว่าเดิม
และคำว่า pixles ก็เป็นที่สนใจ มากขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งจะควบคู่ไปกับ การโฆษณาแบบ Conversion ซึ่งเราก็เห็นมานานมาก
แต่ไม่เคยคิดจะไปสัมผ้สมันเลย….
.
เอาล่ะ มาทำความเข้าใจกันดีกว่า ว่ามันคืออะไร
.
ปกติ ทุกวันนี้ เวลาที่เรากดอะไร ทำอะไรใน เฟสบุ๊ค
เฟสบุ๊คมักจะนำเอา สิ่งที่คล้ายๆกัน มานำเสนอให้เรา
เพราะคิดว่า เราชอบสิ่งนั้น ก็เลยบริการ เอาของที่เราชอบมาบรรณาการใน newsfeed บ่อยๆ
.
ชอบกดดูเพจบ้าน ก็จะมีเรื่องบ้านขึ้นมา
ชอบกดดูเพจหมาแมว ก็จะมีเรื่องสัตว์เลี้ยงขึ้นมา
.
อันนี้ ก็ถือว่าเป็นกลไก pixels แบบหนึ่งของเฟสบุ๊ค ที่เราไม่รู้ตัว
.
แล้วจะดีแค่ไหน
หากเรามีสื่อเป็นของตัวเอง แล้วเอาคนที่ชื่นชอบ กดนั่น กดนี่ในสื่อของเรา
เอาง่ายๆ สื่อที่ว่านั้น ก็คือเว็บไซต์ นั่นเอง
.
หากเรามีแค่เพจบนเฟสบุ๊คอย่างเดียว
คงไม่อาจะใช้ความสามารถของ pixels ได้อย่างเต็มที่
ดังนั้นจึงต้องมีเว็บไซต์จ้า!! ok?
.
สำหรับการติดตั้ง pixels ในเว็บนั้น
ถ้าทำไม่เป็น ก็จ้างเขาติดตั้งครับ ไม่แพง
.
ถ้าจะทำเว็บ ก็แนะนำให้ใช้พวก wordpress ในการทำ
เพราะสะดวก ปรับเปลี่ยนง่าย คนใช้กันเยอะ
ดังนั้น เวลาทำอะไร จึงหาคนช่วยง่ายกว่า
แถมโครงสร้างเว็บ ยังดีต่อ SEO ที่ทำให้ติด Google ได้ง่ายอีกต่างหาก
.
เอาล่ะ พอเราติดตั้ง pixels ในเว็บเสร็จแล้ว
ขั้นตอนต่อไป ก็คือ การฝึกให้เจ้า pixles นี้เติบโต
เจ้า pixels เหล่านี้ กินข้อมูลการใช้งานเว็บเป็นอาหาร
ดังนั้น เราก็ต้องป้อนมันด้วย traffic ทำให้คนเข้าใช้งานเว็บนี้เยอะๆ บ่อยๆ
ยิ่งเปิดหลายหน้า
ยิ่งกดปุ่มนั้น ปุ่มนี้เยอะๆ
ก็จะทำให้ pixels แยกแยะออกได้
.
โดยเฉพาะการเข้ามาดูเว็บ อ่านเว็บ หรือ กดปุ่ม ที่มีผลดีต่อรายได้ของธุรกิจเรา
ซึ่งอาจจะต่างกันไป
บางคนเข้ามาอ่านเนื้อหา
บางคน เป็นปุ่มสั่งซื้อ
บางคน เป็นปุ่มกรอกรายชื่อ
บางคน เป็นปุ่มกดโทรหา หรือ ติดต่อเจ้าหน้าที่
.
จะดีมั้ย หากวันนี้ เรารู้ว่าใครเข้ามาทำอะไร ในเว็บของเราบ้าง
ถ้าเขาเคยเข้ามา แล้วเห็นโฆษณาของเราอีกครั้ง
โอกาสที่จะสนใจ หรือ ซื้อของๆเรา ก็เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
.
บางคนที่ เคยกดสั่งซื้อของ
แล้วยังไม่จบ เราส่งหน้าสินค้านั้นไปให้เค้าอีกที
โอกาสปิดการขายสูงขึ้นมั้ย?
.
เหมือนเราเข้า agoda แล้วยังค้างจ่าย
ยังไม่จ่ายเงิน
ก็จะมีโฆษณา ของโรงแรมที่เราดูค้างไว้ โผล่มาหลอนหลอกกัน
.
หรือเข้าไปใน shopee lazada
เลือกซื้อของไปสักพัก แล้วออกมาจากเว็บนั้น หรือ app นั้น
เข้าเฟสบุ๊คปั๊บ เห็นโฆษณาสินค้าเลยจ้า
และโผล่มาหลอนบ่อยสุดๆ
.
อันนี้แหละ
เราเรียกกันว่า การ retargeting
ทำโฆษณาส่งไปหาลูกค้า ด้วยข้อมูลพฤติกรรม การใช้งานเว็บของลูกค้าเอง
.
อันนี้ คือความดีงามเล็กๆของการใช้ pixels ในเว็บ
.
ยังไม่รวม
ถึงการให้ เฟสบุ๊คไปหาคนที่มีพฤติกรรม ใกล้เคียงกับ action ในเว็บของเรานะ
.
จะดีมั้ย หากวันนี้ เราไม่ต้องหากลุ่มเป้าหมาย เพศวัย
แต่ให้เฟสบุ๊คไปคัดเอาคนที่ชอบกดซื้อของในเว็บของเรามาให้
.
นี่มันกลุ่มเป้าหมายในฝันเลยนี่!!
.
แต่แน่่นอน ว่าก่อนจะเจอฝันดี
เราต้องใช้เวลา และความพยายามอย่างหนัก จึงจะสำเร็จ
ดังนั้น อย่าทิ้งความฝันสวยๆ ไว้กลางทาง
.
พยายามให้สำเร็จก่อน
แล้วค่อยผ่อนคลาย..
.
เอาเป็นว่า แนวคิดของ facebook pixels ที่อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ใน 3 นาที
จะมีประโยชน์กับทุกๆ คนที่กำลังสนใจ อยากทำอยู่นะครับ