จะหนีเฟสบุ๊ค แล้วไป โฆษณาใน LINE ต่างกันมากแค่ไหนมาดูกัน
.
หลังจากที่ LINE ได้ออกมาประกาศว่า
จะเปิดให้ User ที่ใช้ LINE OA ได้ลงโฆษณา ได้ด้วยตัวเอง
ทำให้หลายคน ตื่นตัว และอยากรู้ว่า ทำงานอย่างไร
.
ล่าสุด มีข้อมูล Update รายละเอียดการโฆษณาผ่าน LINE ที่มากขึ้นกว่าเดิม
จาก LINE Business โดยตรงจากลิงค์นี้
ทำความรู้จัก LINE Ads Platform และ 4 เหตุผลที่ต้องใช้ถ้าอยากให้ธุรกิจโต
.
ผมเลยขอกล่าวถึงโฆษณาของ LINE ที่เราจะมาทำโฆษณาได้เอง รวมทั้งเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกับการโฆษณาในเฟสบุ๊คที่เราคุ้นเคยกันมาก่อนหน้า
ดังนี้ครับ
.
จะมีคนเห็นโฆษณา มากน้อยแค่ไหน?
คนเข้าใช้งาน LINE นอกจากการแชท
ก็มักจะอ่านบทความใน LINE TODAY เสมอ ซึ่งมียอดวิวที่ 2500 ล้านต่อเดือน ถ้าเทียบกับคนใช้งาน LINE 44 ล้านคน ก็เท่ากับ เข้ามาดูคนละ 56 วิวต่อเดือนเลยนะครับ
.
ตำแหน่งโฆษณา ในไลน์อยู่ตรงไหน?
.
เรามาดูกันก่อนว่า ตำแหน่งโฆษณาของ LINE นั้นอยู่ตรงไหนบ้าง
.
1. Timeline : อยู่ในหน้า timeline ถ้าเปรียบไป ก็เหมือน newsfeed ของ เฟสบุ๊คเลยครับ ซึ่งคนใช้ไลน์ ก็มักจะโฆษณากันตรงนี้เป็นประจำอยู่แล้ว
2. Article page end0 / Article page end1 / Article page end2 อยู่ด้านท้ายของบทความ เป็นหลักเลยครับ ถ้าในเฟสบุ๊ค เราจะเห็นลักษณะของโฆษณาแบบนี้ อยู่ใน instant article บ่อยๆ
3. Top Page Top2 / Top Page Top3 : อยู่ด้านบนของบทความใน LINE เป็นหลัก
วัตุประสงค์ในไลน์ มีเหมือนเฟสบุ๊คมั้ย
เฟสบุ๊ค มี 11 objective
.
– Awareness สร้างการรับรู้
> Brand awareness
> Reach
.
– Consideration การตัดสินใจ
> traffic
> engagement
> app install
> video view
> lead generatio
> message
.
– Conversion การลงโฆษณาเพื่อสร้างผลลัพธ์ชัดเจน
> Conversions
> catalog sales
> store traffic
.
สำหรับ LINE Ads platform มี 4 objective โดยแบ่งออกเป็น
1. การรับรู้แบรนด์ และ Awareness
แบ่งออกเป็นเรื่องของ
1.1.การเข้าถึง และ ความถี่ : เราสามารถเลือกให้แต่ละคน เห็นโฆษณาของเราได้มากน้อย แค่ไหน เลือกความถี่ได้ตามความต้องการ ถ้ามากเกินไป ก็ไม่ดีนะ ขนาดเรายังเบื่อเลยที่เห็นโฆษณาอัดๆๆถี่ๆๆ
.
ซึ่งเทียบได้กับ Reach ใน เฟสบุ๊คนั่นเอง
.
1.2.การเยี่ยมชมเว็บไซต์ : เหมาะสำหรับการให้คนคลิกเข้าไปดูรายละเอียด ข้อมูลของสินค้า หรือบริการที่เรามีอยู่ ซึ่งหากเว็บไซต์ของเรานั้น มีการเก็บ pixel และ google analytics ก็จะเป็นข้อดีเข้าไปอีก เพราะสามารถเก็บฐานข้อมูลของคนจาก platform ไลน์ ไปใช้งานเพิ่มได้อีก
.
เทียบได้กับ Traffic หรือการเยี่ยมชม ในเฟสบุ๊ค นั่นเอง
.
2. เพิ่มฐานลูกค้า
มีสองแบบ นั่นคือ
.
2.1 เพิ่มคนใน LINE OA ของเราให้มากขึ้น เพื่อเอาไว้ ส่งข้อมูลโปรโมชั่นต่างๆ ได้ในภายหลัง
.
เทียบได้กับ engagement แบบเพิ่มคนติดตาม ในเฟสบุ๊คนั่นเอง
.
2.2 ให้คนดาวน์โหลด application : อันนี้ เหมาะสำหรับคนที่มี application แล้วอยากเพิ่ม member ตอนนี้ ไลน์เปิดโอกาส ให้คุณในช่องนี้แล้วจ้า
.
เทียบได้กับ App installation ในเฟสบุ๊คนั่นเอง
.
3. เพิ่มยอดขาย
มีสองแบบ คือ
3.1 ซื้อของ (website conversion) : ตัวนี้ จะต่างจากการเข้าชมเว็บไซต์ ตรงที่ เราสามารถเก็บข้อมูล คนที่เคยคลิก หรือเคยซื้อ ผ่าน platform LINE เพื่อไปทำการ Retarget ได้อีกครั้ง (เออ อันนี้น่าสนใจ)
.
เทียบได้กับ Conversion ในเฟสบุ๊คนั่นเอง
.
3.2 ใช้งาน application : ปกติคนใช้งาน application ถ้าโหลดมาแล้ว บางครั้ง อาจจะไม่ค่อยได้ใช้งาน การโฆษณาไปเด้งเตือนให้ User กลับมาใช้งาน ใน platform ที่เขาคุ้นเคย จึงเป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยได้
.
เทียบได้กับ การทำ Retargeting ในเฟสบุ๊คนั่นเอง
.
4. รักษาฐานลูกค้าเดิม
ทางไลน์ใช้กระบวนที่เรียกว่า การนำเสนอสินค้าแบบไดนามิก : เป็นการแสดงสินค้าเฉพาะบุคคล คือ personalization มากขึ้น ไม่ใช่โฆษณาแบบหว่าน ซึ่งจะเพิ่มโอกาส ให้คนซื้อสินค้านั้นๆ เพิ่มขึ้นไปมากกว่าเดิม
.
เทียบได้กับ การทำ Retargeting ในเฟสบุ๊คนั่นเอง
กลุ่มเป้าหมาย ในไลน์มีกี่แบบ
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายใน LINE สามารถแบ่งได้ตาม
– อายุ
– เพศ
– พื้นที่
– OS เลือกได้ว่าจะเป็น iOS หรือ Android
– ความสนใจ อาทิ แฟชั่น ความงาม บันเทิง ท่องเที่ยว ธุรกิจ การเงิน (คาดว่าน่าจะมาจากการคลิกดูข้อมูล ของคนที่ใช้ไลน์)
.
Custom audience
นอกจาก กลุ่มเป้าหมายแบบปกติ ที่ดูจากพฤติกรรมแล้ว ทางไลน์ ยังพัฒนาให้เราสามารถ โฆษณาโดยทำ custom audience ได้ด้วย ซึ่งเป็นข้อมูลที่เราต้องสร้างขึ้นมาเอง จากการเข้ามาใช้งานใน LINE OA เว็บไซต์ หรือ applicaton (หากใครเคยทำ custom audience ในเฟสบุ๊คมาก่อน น่าจะเข้าใจไม่ยาก)
.
ที่สำคัญ custom audience สามารถนำมาสร้าง เป็น Look a like audience ได้ด้วย (ใครเคยทำในเฟสบุ๊ค มาก่อน ถือว่าได้เปรียบ)
รูปแบบการซื้อ โฆษณาในไลน์ คิดราคายังไง
การซื้อโฆษณาในเฟสบุ๊ค ส่วนใหญ่ เราจะคุ้มชินกับหน่วยของ CPM เป็นหลัก นั่นคือ คนเห็น 1000 ครั้ง เสียเงินกี่บาท (จริงๆ มีแบ่งเยอะกว่านั้น เช่น cost per engagement / cost per click / cost per like หรือ cost per conversion เป็นต้น)
.
สำหรับ LINE นั้น การซื้อโฆษณา มีให้เลือกสามแบบ นั่นคือ
1. การเห็น นับเป็น CPM (Cost per 1,000 impression จริงๆ คำว่า M ย่อมาจาก Mille ที่แปลว่า 1,000 ในภาษาละติน)
2. การคลิก นับเป็น CPC (Cost per click)
3. การเพิ่มเพื่อน นับเป็น CPF (cost per friends)
.
สรุป
ข้อดี
– สำหรับคนที่ใช้ LINE ในการสร้างยอดขายอยู่แล้ว ก็จะลดขั้นตอนการติดต่อผ่าน เอเจนซี่
– เป็นทางเลือกใหม่ สำหรับคนที่ใช้งาน เฟสบุ๊คมาเป็นเวลานาน แล้วอยากลอง platform อื่นๆบ้าง
สิ่งที่ยังไม่รู้แน่ชัด
– ราคาในการสร้าง campaign จะถูก หรือ แพง ยังไม่มีใครทราบ แต่หากราคาออกมาแพง ก็จะเป็นการคัดให้เหลือผู้เล่นที่จำเป็นต้องใช้เงินโฆษณา เพื่อสร้างยอดขายน้อยลง (อันนี้ คาดเดาจาก ตอนที่ขายผ่าน เอเจนซี่ แล้วเริ่มต้นที่หลักหมื่นต่อเดือน)
– กฏระเบียบต่างๆ จะมีมากเท่าเฟสบุ๊คมั้ย ยังไม่มีระบุออกมา แต่อย่างน้อย การควบคุมคุณภาพ ให้ผ่านเกณฑ์ คือเรื่องสำคัญ ที่ไลน์ต้องกำหนด
– ซื้อได้มากน้อยแค่ไหน มีลิมิตหรือเปล่า อันนี้ยังไม่ได้ระบุ
– โฆษณาจะกระจายไปยังต่างประเทศ หรือ ประเทศเพื่อนบ้านด้วยหรือไม่ อันนี้ ยังไม่มีระบุออกมา เพราะเท่าที่มีข้อมูล ตอนนี้ คนลาว ใช้ whatsapp มากกว่า LINE (แต่สำหรับอนาคต นั้นยังไม่แน่)
.
หากมีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้
ทางผมจะนำเสนอให้ทราบกันในลำดับต่อไปนะครับ 😉
.
ติดตาม พี่นุก สอนรุกการตลาดออนไลน์ได้ในช่องต่อไปนี้
website : https://www.digitalnook.co/
medium : https://medium.com/digitalnook
facebook : https://www.facebook.com/digitalnook/
line : @digitalnook = http://bit.ly/digitalnookline
youtube : http://bit.ly/sub-digitalnook-yt